เวตาล (สันสกฤต: वेताल) เป็นอมนุษย์จำพวกหนึ่ง คล้ายค้างคาวผี ในปรัมปราคติของฮินดู เวตาลอยู่ในจำพวกมรุตคณะ เป็นบุตรนางอทิติ เป็นผู้ตามพระรุทระเป็นเจ้าแลนางภัทรา ดำรงอยู่เป็นภูตที่อาศัยในซากศพผู้อื่นในตอนกลางวัน ศพเหล่านี้อาจใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการเดินทาง เพราะขณะที่เวตาลอาศัยอยู่นั้น ซากศพจะไม่เน่า แต่เวตาลอาจออกจากศพเพื่อหากินในตอนกลางคืน ไปตามหนอง ตามพุ่มไม้ ตามป่ารกแลป่าที่มืดอับ บางทีไปกับลมพายุแลฟ้ามัว เวลาเที่ยวจะเป็นเวลากลางคืนสงัดในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 กล่าวไว้ว่า "เวตาล คือ ผีจำพวกหนึ่ง ชอบสิงอยู่ในป่าช้า"
เวตาลมักจะปรากฏรูปร่างเป็นมนุษย์ แต่มือและเท้าหันกลับไปทางด้านหลัง นัยน์ตาเป็นสีลานแกมเขียว มีเส้นผมตั้งชันทั้งศีรษะ มือขวาถือไม้เท้า มือซ้ายถือหอยสังข์ ขณะเมื่อมาปรากฏตัวจะนุ่งห่มเสื้อผ้าสีเขียวทั้งชุด นั่งมาบนเสลี่ยง บางคราวก็ขี่ม้า มีภูตบริวารถือคบเพลิงแวดล้อมโดยรอบ และส่งเสียงโห่ร้องกึกก้อง
เรื่องย่อ
ในโบราณกาล
มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล
มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว
ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้
พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี
ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า จนพระองค์สิ้นพระชนม์
จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึก
ในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน
กับพระราชบุตร
ได้เสด็จมาประพาสป่าและพบรอยเท้าของสตรีซึ่งเมื่อพบสตรีทั้งสองจะให้รอยเท้าที่ใหญ่เป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน
และรอยเท้าที่เล็กเป็นพระชายาของพระราชบุตร แต่เมื่อพบนางทั้งก็ปรากฏว่า
รอยเท้าที่ใหญ่คือพระราชธิดา และรอยเท้าที่เล็ก นั้นคือ พระราชมารดา
ดังนั้นพระราชธิดาจึงเป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน
และพระมารดาได้เป็นพระชายาของพระราชบุตร
คุณค่าและแนวคิดของนิทานเวตาล
แนวคิด
1. มนุษย์ที่มีคุณธรรมต่ำแม้จะมีฤทธิ์อย่างไรก็ยอมแพ้ผู้มีคุณธรรม
2. คำพูดที่กล่าวโดยไม่ใช้สติปัญญาไตร่ตรองก่อน อาจนำความหายนะหรือปัญหาซึ่งแก้ไขยากมาสู่ตนเองได้
3. การใช้ทั้งสติและปัญญาควบคู่กันไป คือหลักสำคัญในการนำมนุษย์ไปสู่ความสำเร็จ
4. ความอดทน ความอดกลั้น นำไปสู่ชัยชนะและความสำเร็จได้
คุณค่าของเรื่อง
1. เนื้อหาของนิทานสอนคติในการดำรงชีวิต
2. ทำให้ทราบเรื่องราวของนิทานจากวรรณคดีสันสกฤต
3. นิทานเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่านิทานที่แสดงคติธรรม ก็สามารถให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินได้
4. คำถามที่เป็นปริศนาชวนให้คิดของเวตาลช่วยเพิ่มสติปัญญาและไหวพริบของผู้อ่าน
5. ตัวละครเอกทั้งสองของนิทานเวตาลเป็นตัวละครที่น่าสนใจ และมีความสมจริงเป็นอย่างยิ่ง
คุณค่าทางสังคม
1.ให้แง่คิดเกี่ยวกับความมุ่งมั่น อดทน อดกลั้น และความเพียรพยายาม
2. ให้แง่คิดเกี่ยวกับใช้สติและปัญญาควบคู่กันไปในการแก้ปัญหาต่างๆ
3. ให้แง่คิดเกี่ยวกับผลเสียของการพูดโดยไม่ไตร่ตรอง
คุณค่าทางวรรณศิลป์
1. เนื้อหาสนุกสนาน แปลกใหม่สำหรับคนไทย แตกต่างจากนิทานทั่วไป
2. การดำเนินเรื่องเป็นไปตามลำดับเวลาไม่สับสน ทำให้ผู้อ่านติดตามเรื่องเข้าใจได้ง่าย
3. การใช้สำนวนภาษา ใช้คำง่ายๆ มีการอธิบายอย่างชัดเจน แฝงข้อคิดและคำคมที่น่าสนใจ
4. น.ม.ส. ทรงใช้ภาษาแสดงอารมณ์ของตัวละครในลักษณะเยาะหยัน เสียดสี ยั่วยุ อารมณ์ โดยแทรกอารมณ์ขันได้เป็นอย่างดี แสดงลีลาการเขียนที่ “ ไม่เลียนแบบใคร และไม่มีใครเลียนแบบได้ ” เป็นลักษณะเฉพาะที่เรียกกันว่า สำนวน น.ม.ส. ทำให้นิทานเวตาล มีสีสันน่าอ่าน มากขึ้น